แบ่งงวดงานอย่างไร? ไม่ให้โดนเอาเปรียบ

แบ่งงวดงานอย่างไร? ไม่ให้โดนเอาเปรียบ

28 ส.ค. 2567   ผู้เข้าชม 144

การแบ่งงวดงานหรือการแบ่งงวดชำระเงินเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามในการสร้างบ้าน เพราะหากไม่มีการแบ่งงวดงานที่ชัดเจนตั้งแต่แรกจะทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ มาได้ โดยปัญหาที่พบบ่อยที่สุดคือปัญหาผู้รับเหมาทิ้งงาน เนื่องจากมีการแบ่งงวดงานที่ไม่ชัดเจนหรือแบ่งชำระในงวดแรกมากเกินไปทำให้ผู้รับเหมาฉวยโอกาส วันนี้เราจึงมีวิธีการแบ่งงวดงานที่ให้ความเป็นธรรมกับทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งทางผู้รับเหมาและผู้ว่าจ้าง ไม่ต้องกลัวว่าจะถูกเอาเปรียบจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

ผู้รับเหมาและผู้ว่าจ้าง

การแบ่งงวดงานควรพิจารณาจากอะไรบ้าง?

เอกสาร BOQ (Bill of Quantities)

เป็นสิ่งสำคัญที่ใช้ในการแบ่งงวดงาน เพราะเป็นเอกสารแสดงรายการค่าใช้จ่ายทั้งหมดตั้งแต่เริ่มไปจนแล้วเสร็จว่ามีค่าใช้จ่ายในส่วนไหนบ้าง ค่าใช้จ่ายแต่ละหมวดมีราคาเท่าไหร่ เช่น ค่าวัสดุก่อสร้าง ค่าแรง ค่าดำเนินการ และอื่น ๆ ที่จะทำให้ทราบค่าใช้จ่ายในแต่ละขั้นตอนและสามารถนำมาใช้ในการแบ่งงวดงานได้

แผนการดำเนินงาน

แผนการดำเนินงาน

ทางผู้รับเหมาจะต้องทำแผนการดำเนินงานที่มีการระบุระยะเวลาในการดำเนินงานว่าใช้เวลาในการก่อสร้างแล้วเสร็จกี่วัน และงานแต่ละขั้นตอนจะใช้เวลาการทำงานนานเท่าไหร่ เพื่อทราบเปอร์เซ็นต์การทำงานและนำไปใช้พิจารณาในการแบ่งค่างวด

เปอร์เซ็นต์การแบ่งงวดงาน

เปอร์เซ็นต์การแบ่งงวดงาน

ควรตรวจสอบการแบ่งงวดหรือเปอร์เซ็นต์ให้ดีเพื่อป้องกันผู้รับเหมาทิ้งงาน เพราะหากแบ่งเปอร์เซ็นต์สูงเกินไปจะทำให้ผู้รับเหมาทิ้งงานได้ง่าย เนื่องจากงานในช่วงทำโครงสร้างนั้นมีต้นทุนไม่สูง ทำให้ผู้รับเหมาเห็นส่วนต่างทางการเงินเยอะและมีโอกาสทิ้งงานสูง หรือหากใครที่กลัวว่าจะโดนเอาเปรียบสามารถใช้บริการที่ปรึกษางานก่อสร้างจังหวัดเชียงใหม่เพื่อช่วยให้คำแนะนำได้

ขั้นตอนการแบ่งงวดงาน แบ่งอย่างไรไม่ให้โดนเอาเปรียบ?

  • งวดที่ 1 การเตรียมงาน 10% เป็นช่วงก่อนเริ่มงานที่จะมีการเบิกล่วงหน้า เพื่อให้ผู้รับเหมานำไปใช้เกี่ยวกับการเตรียมงาน ควรอยู่ในช่วง 10 – 15% เพราะเป็นช่วงก่อนเริ่มงานที่การทำงานเป็น 0

  • งวดที่ 2 งานเสาเข็มและวางรากฐาน 10% เพราะในขั้นตอนนี้โดยปกติแล้วทางผู้รับเหมาจะมีทีมช่างเป็นของตัวเองอยู่แล้วและมีค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงมาก จึงควรควบคุมการแบ่งงวดงานไม่ให้มากจนเกินไปเพราะเป็นช่วงที่มีความเสี่ยงสูงที่ผู้รับเหมาจะทิ้งงานหากมีการแบ่งจ่ายมากเกินไป

  • งวดที่ 3 งานโครงสร้าง 15% เพื่อให้เหมาะสมกับการทำงาน เพราะหากงานโครงสร้างแล้วเสร็จหมายความว่างานจะต้องดำเนินมาแล้วไม่ต่ำกว่า 40% ซึ่งเข้าสู่ครึ่งทางในการสร้างบ้านแล้วกับค่าใช้จ่ายประมาณ 40 - 50% เพราะหากแบ่งงวดจ่ายในช่วงก่อนงานโครงสร้างแล้วเสร็จสูงกว่า 50% จะเสี่ยงต่อการถูกเอาเปรียบหรือโดนหลอกได้ง่าย เพราะในช่วงนี้เป็นช่วงที่พบว่าช่างทิ้งงานไปมากที่สุด เนื่องจากมีต้นทุนต่ำและได้ส่วนต่างเยอะกว่างวดอื่น ๆ นั่นเอง

  • งวดที่ 4 งานหลังคา 15% เพราะเป็นช่วงที่เริ่มมีค่าใช้จ่ายส่วนอื่น ๆ เพิ่มเข้ามา

  • งวดที่ 5 งานผนัง ก่อ ฉาบ 15% สำหรับค่าวัสดุและอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ค่าปูน อิฐ ทราย

  • งวดที่ 6 งานฝ้าเพดาน งานประตู - หน้าต่าง งานสุขภัณฑ์ 15% เป็นช่วงที่ค่าใช้จ่ายเริ่มสูงขึ้นและจำเป็นต้องใช้ช่างที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

  • งวดที่ 7 งานสีภายนอกและภายใน 10% เป็นขั้นตอนที่ต้องพิถีพิถันในการทำงานและมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าสีทาภายนอก สีทาภายใน สีทารองพื้น และอื่น ๆ

  • งวดที่ 8 งานภายนอก เก็บงาน 10% การแบ่งงานงวดสุดท้ายไม่ควรต่ำกว่า 10% เพื่อป้องกันการทิ้งงานหรือถูกเอาเปรียบ เพราะหากงวดสุดท้ายมีเงินแบ่งจ่ายน้อยจะทำให้ผู้รับเหมาทิ้งงานได้ง่าย

ที่ปรึกษางานก่อสร้างจังหวัดเชียงใหม่

การแบ่งงวดงานสามารถแบ่งได้ตามความเหมาะสมเหมาะสมของแต่ละโครงการ ขึ้นอยู่กับลักษณะของงาน อาจแบ่งจ่ายทุกสิ้นเดือนหรือแบ่งจ่ายตามประเภทของงานก็ได้ สามารถตกลงกับทางผู้รับเหมาได้ตามความเหมาะสมว่าต้องการแบ่งจ่ายกี่งวดเพื่อให้เป็นที่เข้าใจกันของทั้ง 2 ฝ่าย สามารถยืดหยุ่นได้ แต่ทั้งนี้ก็ต้องอิงจากเปอร์เซ็นต์การทำงานด้วยว่าเป็นไปตามแผนการดำเนินงานหรือไม่ เพราะหากงานดำเนินล่าช้าไม่เป็นไปตามแผนแต่อยากเบิกเงินเยอะก็ควรต้องระวัง เพราะหากถูกทิ้งงานไปจะทำให้มีโอกาสขาดทุนสูง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญอย่างที่ปรึกษางานก่อสร้างจังหวัดเชียงใหม่ร่วมด้วยเพื่อป้องกันการถูกเอาเปรียบ

หรือหากใครที่แบ่งงวดงานเสร็จแล้วและกำลังมองหาผู้ช่วยตรวจบ้านที่นี่ก็มีบริการตรวจบ้านในจังหวัดใกล้เคียงอย่างในจังหวัดเชียงราย ลำพูน และลำปางด้วยเช่นกัน


บทความน่าอ่านที่เกี่ยวข้อง

ทำไมต้องตรวจสอบความสมบูรณ์ของงานก่อสร้าง มาหาคำตอบเรื่องนี้กัน
15 ก.ค. 2566

ทำไมต้องตรวจสอบความสมบูรณ์ของงานก่อสร้าง มาหาคำตอบเรื่องนี้กัน

ที่ปรึกษางานก่อสร้าง
หน้าที่และความสำคัญของที่ปรึกษางานก่อสร้าง ในการสร้างบ้าน ตึก และอาคาร
28 พ.ค. 2566

หน้าที่และความสำคัญของที่ปรึกษางานก่อสร้าง ในการสร้างบ้าน ตึก และอาคาร

ที่ปรึกษางานก่อสร้าง